วิสาหกิจครอบครัวสร้างคุณค่าได้อย่างไร

STEP – Successful Transgenerational Entrepreneurship Practices โครงการเพื่อยกระดับความสำเร็จของวิสาหกิจครอบครัวจากรุ่นสุ่รุ่นอย่างยั่งยืนสู่อนาคต

เป็นระยะเวลากว่า 5 ปี ที่กลุ่มนักวิชาการและผู้ประกอบการมืออาชีพจากทั่วโลก ได้มุ่งมั่นทำงานร่วมกันในโครงการ STEP เพื่อค้นหาคำตอบสำหรับคำถามที่ว่า “วิสาหกิจครอบครัวจะสามารถสร้างคุณค่าที่สามารถสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นได้อย่างไร” โครงการดังกล่าวริเริ่มขึ้นโดย Babson College รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา สถาบันการศึกษาชั้นนำระดับโลก ที่เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรการประกอบการ (Entrepreneurship) โดยกลุ่มเครือข่ายที่เข้าร่วมในโครงการนี้ ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยในกลุ่มเครือข่าย 33 แห่ง และนักวิชาการ 125 ท่าน ที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการวิสาหกิจครอบครัวจำนวน 75 ครอบครัวจากทั่วทุกมุมโลกเข้าร่วมโครงการ ปัจจุบัน มีจำนวนครอบครัวเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งวิสาหกิจครอบครัวจากประเทศไทย

ทางโครงการได้ค้นพบองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อวิสาหกิจครอบครัวอย่างมากมาย และขอเรียนว่า ธนาคารกรุงเทพมีความยินดีอย่างยิ่งที่จะใช้พื้นที่ของคอลัมน์นี้เพื่อแบ่งปันความรู้ที่กลั่นกรองจากประสบการณ์ของวิสาหกิจครอบครัวจากทั่วทุกมุมโลกห้กับชาววิสาหกิจครอบครัวไทย

ทั้งนี้ วิสาหกิจครอบครัวที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการศึกษาวิจัย ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

  • สมาชิกในครอบครัวมีส่วนในการบริหารอย่างเป็นกิจลักษณะ ในธุรกิจที่กำลังดำเนินอยู่อย่างน้อย 1 กิจการ ไม่ใช่กิจการที่มีครอบครัวเป็นเพียงผู้ถือหุ้นหรือผู้ถือหุ้นแทน
  • ครอบครัวมีสัดส่วนการถือหุ้นที่มีสิทธิ์ออกเสียงเกินกว่าร้อยละ 50 ในธุรกิจหลัก เพื่อแสดงว่าสามารถควบคุมทิศทางเชิงกลยุทธ์ในการดำเนินกิจการได้
  • มีทายาทผู้รับสืบทอดกิจการอย่างน้อย 1 รายร่วมบริหาร และ/หรือ เป็นเจ้าของกิจการ
  • มีความตั้งใจที่จะส่งมอบธุรกิจให้แก่สมาชิกของครอบครัวในรุ่นถัดไป

ภายใต้โครงการ STEP ข้อมูลของวิสาหกิจที่เข้าร่วมโครงการทุกกิจการ จะได้รับการบันทึกตามระเบียบวิธีวิจัยเดียวกันทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วย การสัมภาษณ์ การเก็บข้อมูลทุติยภูมิจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น เว็บไซต์ รายงานประจำปี และบทความที่ปรากฏในสื่อต่างๆ เป็นต้น โดยภายหลังการสัมภาษณ์ คณะผู้วิจัยจะจัดทำรายงานกรณีศึกษาของแต่ละกิจการความยาวประมาณ 30-50 หน้า เพื่อนำกรณีศึกษาเหล่านี้ไปใช้พัฒนาองค์ความรู้ (ในรูปของแบบฝึกหัด) เกี่ยวกับปัญหาในเชิงปฏิบัติที่วิสาหกิจครอบครัวทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่

ตัวอย่างความรู้ที่เราได้จากกรณีศึกษา ได้แก่;
การมุ่งเน้นสู่ความสำเร็จในระยะยาว (สวิสเซอร์แลนด์)
การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพภายในวิสาหกิจครอบครัว (สวีเดน)
ความสัมพันธ์และและทรัพยากรในวิสาหกิจครอบครัว (มาเลเซีย)
การประเมินตนเองสำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจครอบครัว (เยอรมัน)

เป็นที่น่ายินดีที่ประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่องค์กรธุรกิจชั้นนำจำนวนมากมายในปัจจุบัน มีจุดเริ่มต้นจากการเป็นวิสาหกิจรอบครัวที่ประสบความสำเร็จ ได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว โดยความร่วมมือระหว่าง Babson College มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และธนาคารกรุงเทพ ทั้งนี้องค์ความรู้ที่ได้จากโครงการนี้จะนำมาซึ่งประโยชน์แก่ทั้งองค์กรธุรกิจต่างๆ และสังคมโดยรวม

เครื่องมือช่วยเหลือ

ธนาคารพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลคุณ
ในทุกธุรกรรมทางการเงิน

เครื่องมือช่วยเหลือ

ธนาคารพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลคุณในทุกธุรกรรมทางการเงิน

คุณกำลังจะออกจากเว็บไซต์ธนาคารกรุงเทพ