สารจากประธานกรรมการ ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่

ธนาคารกรุงเทพมุ่งมั่นสรรค์สร้างคุณค่าสู่อนาคตที่ยั่งยืน ด้วยการประสานความร่วมมือกับพนักงาน ลูกค้า และชุมชน อย่างใกล้ชิด โดยตระหนักถึงความสำคัญของการเป็นพันธมิตร กับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มเพื่อบรรลุเป้าหมายของธนาคาร ในการช่วยขับเคลื่อนให้ประเทศไทยมีความเท่าเทียมและยั่งยืน ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจยิ่งขึ้น ความมุ่งมั่นดังกล่าวสอดคล้องกับค่านิยมที่เป็นรากฐานในการ ดำเนินธุรกิจตลอด 78 ปีของธนาคาร และสอดรับกับเจตนารมณ์ของการเป็น “เพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน” ที่ช่วยสนับสนุนการบรรลุ เป้าหมายด้านความยั่งยืน อีกทั้งยังตอกย้ำความมุ่งมั่นที่จะเป็นธนาคารที่่ได้รับความไว้วางใจสูงสุด ด้วยการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน บริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิผล และตัดสินใจ ทางธุรกิจโดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อสร้าง อนาคตที่ยั่งยืนของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

วิถีสู่ความยั่งยืน

แนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันต้องเผชิญกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) อันส่งผลต่อโอกาสในการเติบโตและความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจ ธุรกิจที่คำนึงถึงปัจจัยด้าน ESG จะสามารถปรับตัวรับและแสวงหาโอกาสจากความท้าทายต่าง ๆ ได้ ธนาคารตระหนักถึงความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียที่มีต่อการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของธนาคาร รวมถึงทิศทางนโยบายของหน่วยงานราชการและหน่วยงานกำกับดูแลในการสนับสนุน และผลักดันให้ธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดี ธนาคารจึงจำเป็นต้องวางกรอบการดำเนินงานด้านความยั่งยืนให้เป็นระบบและชัดเจน ผ่านการจัดทำนโยบายด้านความยั่งยืนและการกำหนดกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนที่สอดคล้องกับบริบททางธุรกิจของธนาคาร ธนาคารได้นำประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนที่ได้จากผลของกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มมาเป็นฐานในการวางกลยุทธ์ พร้อมทั้งระบุความมุ่งมั่น ตัวชี้วัด เป้าหมายระยะสั้นและระยะยาวของแต่ละประเด็นสำคัญ เพื่อให้การดำเนินงานด้านความยั่งยืนของธนาคารมีความเป็นระบบและมีทิศทางที่ชัดเจน สามารถรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมและทันต่อสถานการณ์

นโยบายด้านความยั่งยืน
ธนาคารกำหนดนโยบายด้านความยั่งยืนเพื่อเป็นแนวทางการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความยั่งยืน และสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ นโยบายดังกล่าวประกอบด้วยการดำเนินงาน 4 แนวทาง ได้แก่

  1. การบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างรอบคอบและรอบด้าน ครอบคลุมประเด็นที่มีนัยสำคัญทั้งในระยะสั้นและระยะยาว พร้อมติดตามสถานการณ์และประเมินโอกาสทางธุรกิจที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
  2. การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล โดยการปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเป็นธรรม การดูแลความปลอดภัยและอาชีวอนามัยรวมถึงความเป็นอยู่ของพนักงาน และการพัฒนาทักษะความรู้ของพนักงาน
  3. การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  4. การสร้างสรรค์คุณค่าที่ยั่งยืนต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ผ่านการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

การส่งเสริมความรู้ทางการเงินและการเข้าถึงบริการทางการเงิน การมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคม และการส่งเสริมคู่ค้าให้ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ เพื่อให้เกิดการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิผล ธนาคารจึงให้ความสำคัญกับปัจจัยเกื้อหนุนพื้นฐาน อันประกอบด้วย การกำกับดูแลด้านความยั่งยืน การสื่อสารและสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียและการเสริมสร้างศักยภาพของคณะกรรมการ ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ





การมีส่วนร่วมและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย

การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร มีความสำคัญยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของธนาคาร เพราะจะช่วยให้ธนาคารทราบถึงความคาดหวัง ความต้องการ และประเด็นปัญหาต่างๆ ของผู้มีส่วนได้เสียอันจะนำมาซึ่งความร่วมมือในการรับมือกับความท้าทายและแสวงหาโอกาสทางธุรกิจร่วมกัน การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มได้อย่างเหมาะสมตลอดจนการป้องกันบรรเทาความเสี่ยงและผลกระทบเชิงลบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานของธนาคาร นอกจากนี้ การสร้างการมีส่วนร่วมยังเปิดโอกาสให้ธนาคารสามารถสร้างคุณค่าและความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มซึ่งเป็นรากฐานของการเติบโตอย่างยั่งยืน ผู้มีส่วนได้เสียของธนาคารแบ่งเป็น 7 กลุ่ม ประยุกต์จากมาตรฐาน Stakeholders Engagement Standard AA 1000SES ได้แก่ 1. ผู้ถือหุ้นและนักลงทุน 2. ลูกค้า 3. พนักงาน 4. คู่ค้า (ผู้ขายสินค้า ผู้ให้บริการภายนอก และผู้รับเหมาจัดจ้าง) 5. เจ้าหนี้ 6. ผู้ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกัน และ 7. ชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม (รวมถึงหน่วยงานกำกับดูแล ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน)

แนวปฏิบัติในการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย

  1. การประเมินประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืน
  2. การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย
  3. การตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
การประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน

ธนาคารได้พิจารณาทบทวนและปรับปรุงประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน เพื่อให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันและในอนาคตอีก 2-3 ปี ข้างหน้า ในการพิจารณาทบทวนดังกล่าว ธนาคารเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มมีส่วนร่วมในการพิจารณาทั้งประเด็นที่มีความสำคัญต่อธนาคาร และประเด็นสำคัญที่ผู้มีส่วนได้เสียคาดหวังต่อการดำเนินงานของธนาคาร เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างสรรค์คุณค่าร่วมกันระหว่างธนาคารกับผู้มีส่วนได้เสีย ธนาคารรวบรวมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น การใช้แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้พิจารณากำหนดประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของธนาคาร

การประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของธนาคารมี 4 ขั้นตอน ดังนี้

  1. การระบุประเด็นสําคัญด้านความยั่งยืน
  2. การจัดลําดับประเด็นสําคัญด้านความยั่งยืน
  3. การพิจารณาตรวจสอบประเด็นสําคัญด้านความยั่งยืน
  4. การพิจารณาทบทวนประเด็นสําคัญด้านความยั่งยืน

ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน ปี 2563-2566


การดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ธนาคารสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals: UNSDG) ผ่านการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของธนาคาร โดยธนาคารได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานด้านความยั่งยืนไว้ 5 แนวทาง แบ่งออกเป็นประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน 15 ประเด็น ซึ่งแต่ละประเด็นได้ถูกหลอมรวมเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ทางธุรกิจของธนาคาร เพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม และร่วมสร้างคุณค่าต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อันจะส่งผลให้ธนาคารสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน

ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน (ภาคธุรกิจ ภาครัฐ และภาคประชาชน) ทำให้เกิดพลังขับเคลื่อนไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ธนาคารจึงให้ความสำคัญกับการสร้างความร่วมมือและขับเคลื่อนงานด้านความยั่งยืนร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ มาโดยตลอด ในปี 2565 ธนาคารได้เข้าร่วมประกาศเจตนารมย์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG Declaration) ของสมาคมธนาคารไทย เพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินการของภาคการธนาคารในการร่วมแก้ไขปัญหาสำคัญด้าน ESG การสร้างความตระหนักรู้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย และการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติและพันธกิจของประเทศที่มีต่อความตกลงปารีส นอกจากนี้ ธนาคารได้เข้าร่วมออกบูธนำเสนอผลงานและโครงการต่าง ๆ ที่นำไปสู่การบรรลุุเป้าหมายด้านความยั่งยืนในงาน Sustainability Expo 2022 และการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคปี 2565 ความร่วมมือเหล่านี้ตอกย้ำความมุ่งมั่นของธนาคารในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความยั่งยืนและการสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศร่วมกับทุกภาคส่วน

ธนาคารสร้างความร่วมมือกับองค์กรและเครือข่ายของภาครัฐ องค์กรเอกชน สมาคม สภาหอการค้า และสถาบันการศึกษา โดยให้การสนับสนุนในรูปแบบค่าธรรมเนียมสมาชิกและเงินสนับสนุนการจัดกิจกรรมที่เสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อแสดงความรับผิดชอบและสร้างประโยชน์คืนกลับสู่สังคม นอกจากนี้ ธนาคารยังเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อร่วมสร้างสรรค์คุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ธนาคารไม่ให้การสนับสนุนแก่กิจกรรมทางการเมืองและล็อบบี้ยิสต์

ธนาคารให้ความสำคัญกับการสนับสนุนและร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน ตลอดจนมุ่งสู่เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศและเป้าหมายตามความตกลงปารีส โดยผู้บริหารของธนาคารได้เข้าร่วมในคณะกรรมการและคณะทำงานของเครือข่ายหรือสมาคมธุรกิจต่าง ๆ เพื่อให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานไปสู่พลังงานทดแทนและพลังงานสะอาดต่อหน่วยงานภาครัฐ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนภาคส่วนต่าง ๆ ให้สามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำตามเป้าหมายของประเทศ ผ่านการดำเนินโครงการต่าง ๆ การจัดกิจกรรมความรู้ และการประชาสัมพันธ์
 
คณะกรรมการและคณะทำงานที่สำคัญ เช่น 

  • คณะทำงานด้านการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน คณะทำงานด้านพลังงาน และคณะทำงานย่อยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) 
  • คณะกรรมการพลังงานของหอการค้าไทย 
  • คณะการกำกับการซื้อขายแลกเปลี่ยนพลังงานสะอาดและคาร์บอนเครดิต
  • คณะทำงานด้านความยั่งยืนของสมาคมธนาคารไทย

ทั้งนี้ การเข้าร่วมในคณะกรรมการหรือคณะทำงานดังกล่าวของผู้บริหารธนาคารจะต้องได้รับการอนุมัติจากฝ่ายจัดการ และการเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายหรือสมาคมธุรกิจต่าง ๆ ของธนาคารจะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการธนาคาร โดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์และกิจกรรมของเครือข่ายว่าสอดคล้องกับนโยบายและแนวทางการดำเนินธุรกิจของธนาคารหรือไม่ รวมทั้งประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมที่เกิดขึ้นจากการเข้าร่วมเป็นสมาชิก

 

5 กลุ่มประเด็นด้านความยั่งยืน

การบริหารจัดการเพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านสุขภาพการเงินของลูกค้าและธนาคาร และสร้างความมั่นใจว่าธนาคารสามารถตอบสนองต่อภาวะวิกฤตและความท้าทายต่าง ๆ รวมถึงฟื้นตัวสู่ภาวะปกติได้อย่างยั่งยืน

การจัดการความเสี่ยงและภาวะวิกฤต

การดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบสนับสนุนกิจกรรมที่สร้างความยั่งยืน ส่งเสริมการให้ความรู้ทางการเงินและการเข้าถึงบริการอย่างทั่วถึง เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

การเงินเพื่อความยั่งยืน

การเข้าถึงบริการทางการเงินและการให้ความรู้ทางการเงิน

การพัฒนาชุมชนและสังคม

การลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การดำเนินธุรกิจโดยยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการรูปแบบใหม่ ส่งมอบประสบการณ์การใช้บริการที่ปลอดภัยและไร้รอยต่อ ตลอดจนสร้างเสริมและรักษาความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า

การให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม

การจัดการด้านลูกค้าสัมพันธ์

การดูแลความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และคุ้มครองข้อมูลของลูกค้า

การสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีความปลอดภัยและเอื้อต่อการปฏิบัติงาน ปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมพนักงานสามารถพัฒนาทักษะได้อย่างต่อเนื่องและเติมเต็มความใฝ่ฝันทั้งในด้านส่วนตัวและหน้าที่การงาน

การดึงดูดและพัฒนาพนักงาน

การดูแลสวัสดิการและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน

การปลูกฝังธรรมาภิบาลที่ดีในองค์กร ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของทางการ สนับสนุนให้คู่ค้าปฏิบัติตามหลักจริยธรรมทางธุรกิจ ควบคู่ไปกับการเคารพสิทธิมนุษยชนและ ไม่ยอมรับการทุจริตคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ

การกำกับดูแลกิจการ

จรรยาบรรณธุรกิจ

การเคารพสิทธิมนุษยชน

การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน

แบบ 56-1 One Report / รายงานประจำปี และรายงานความยั่งยืน

รายงานความยั่งยืนปี 2565

ฉบับเต็ม

*แบบ 56-1 One Report เริ่มปี 2564

แบบ 56-1 One Report
ปี 2564

ฉบับเต็ม เอกสารแนบ

รายงานความยั่งยืนปี 2564

ฉบับเต็ม

*แบบ 56-1 One Report เริ่มปี 2564

รายงานประจำปี 2563

ดาวน์โหลด PDF

รายงานความยั่งยืนปี 2563

ดาวน์โหลด PDF

รายงานประจำปี 2562

ดาวน์โหลด PDF

รายงานความยั่งยืนปี 2562

ดาวน์โหลด PDF

รายงานประจำปี 2561

ดาวน์โหลด PDF

รายงานความยั่งยืนปี 2561

ดาวน์โหลด PDF

รายงานประจำปี 2560

ดาวน์โหลด PDF

รายงานความรับผิดชอบต่อสังคมปี 2560

ดาวน์โหลด PDF

เครื่องมือช่วยเหลือ

ธนาคารพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลคุณ
ในทุกธุรกรรมทางการเงิน

เครื่องมือช่วยเหลือ

ธนาคารพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลคุณในทุกธุรกรรมทางการเงิน

คุณกำลังจะออกจากเว็บไซต์ธนาคารกรุงเทพ