การคุ้มครองเงินฝาก QA


QA Test ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2564 บัญชีเงินฝากที่เป็นเงินบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศทุกประเภทจะได้รับความคุ้มครองภายใต้ พ.ร.บ. สถาบันคุ้มครองเงินฝากในวงเงิน 1 ล้านบาท ต่อ 1 รายผู้ฝากเงิน ต่อ 1 สถาบันการเงิน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์สถาบันคุ้มครองเงินฝาก www.dpa.or.th

การคุ้มครองเงินฝาก datasrouce Accordion

การคุ้มครองเงินฝาก
การคุ้มครองเงินฝากเป็นนโยบายและมาตรการสำคัญของภาครัฐในการคุ้มครองความเสี่ยงของประชาชนผู้ฝากเงิน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ฝากเงินจะได้รับเงินฝากคืนภายในวงเงินและระยะเวลาที่กำหนดตามกฎหมาย หากสถาบันการเงินที่ได้รับการคุ้มครองปิดกิจการ
ประโยชน์ที่ผู้ฝากเงินจะได้รับ
ผู้ฝากเงินจะได้รับความคุ้มครองโดยอัตโนมัติทันทีที่เปิดบัญชีเงินฝากของสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝาก หากสถาบันการเงินใดถูกเพิกถอนใบอนุญาต ผู้ฝากเงินในสถาบันการเงินนั้นทุกรายจะได้รับเงินฝากคืนตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดอย่างรวดเร็ว
ผลิตภัณฑ์เงินฝากที่ได้รับการคุ้มครอง
เงินฝากต้องเป็นเงินบาทเท่านั้น ได้แก่ เงินฝากกระแสรายวัน เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ บัตรเงินฝาก และใบรับฝากเงิน
ผู้ฝากประเภทใดที่ได้รับความคุ้มครอง
ผู้ฝากเงินของสถาบันการเงินภายใต้กฎหมายคุ้มครองเงินฝากทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ซึ่งธนาคารกรุงเทพ เป็นหนึ่งในสถาบันการเงินภายใต้กฎหมายนี้
การให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการคุ้มครองเงินฝาก
นับแต่วันที่ พ.ร.บ. สถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 มีผลใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2551 และมีการทยอยลดวงเงินคุ้มครองจากคุ้มครองเต็มจำนวน เป็น 100 ล้านบาท และ 50 ล้านบาท โดยเริ่มลดวงเงินคุ้มครองเงินฝากเหลือ 50 ล้านบาท เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2555 และลดวงเงินความคุ้มครองเหลือ 15 ล้านบาท เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2559 และเหลือ 1 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2564 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ฝากเงิน สถาบันคุ้มครองเงินฝากจึงประสานงานกับธนาคารพาณิชย์ ช่วยกันประชาสัมพันธ์ผู้ฝากเงินให้เข้าใจถึงระยะเวลาและวงเงินความคุ้มครองเงินฝาก แก่ผู้ฝากเงินและประชาชนทั่วไปมาโดยตลอด ทำให้ผู้ฝากเงินมีเวลาในการปรับตัว
การประเมินความแข็งแกร่งของสถาบันการเงิน
ผู้ฝากเงินสามารถตรวจสอบความมั่นคงของสถาบันการเงินที่ผู้ฝากเงินมีบัญชีเงินฝากได้จากอันดับความน่าเชื่อถือ (Rating) ที่จัดโดยองค์กรที่เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ ผลประกอบการ ซึ่งเปิดเผยอยู่ในเว็บไซต์ของสถาบันการเงินนั้นๆ หรือองค์กรกลางต่างๆ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงาน ก.ล.ต. นอกจากนี้ ควรพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นความพึงพอใจในการให้บริการ ผลตอบแทน ควบคู่ไปด้วย

เครื่องมือช่วยเหลือ

ธนาคารพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลคุณ
ในทุกธุรกรรมทางการเงิน

เครื่องมือช่วยเหลือ

ธนาคารพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลคุณในทุกธุรกรรมทางการเงิน

คุณกำลังจะออกจากเว็บไซต์ธนาคารกรุงเทพ